Last updated: 10 มิ.ย. 2563 | 33461 จำนวนผู้เข้าชม |
HV-1000 Sliding Gate Opener User Manual
HV – 1000
1.คําแนะนําด้านความปลอดภัย
กรุณาตรวจสอบให้แน่ใจว่าแรงดันไฟฟ้าที่ใช้ (V) ตรงกับแรงดันไฟฟ้าของมอเตอร์ (AC110V or AC220V); โปรดระวัง !! ไม่อนุญาตให้เด็กสัมผัสกับอุปกรณ์ หรือตัวรีโมทคอนโทรล
รีโมตคอนโทรลจะใช้การควบคุมด้วยปุ่มเดียว หรือ สามปุ่ม (โปรดตรวจสอบกับคู่มือให้แน่ใจว่ารีโมทคอนโทรลสามารถใช้งานร่วมกับมอเตอร์รุ่นนี้ได้) ไฟแสดง สถานะของรีโมทคอนโทรลจะกระพริบเมื่อปุ่มกดถูกกด ตัวฟั่นเฟืองและ ประตูรั้วสามารถปลดล็อคได้ด้วยกุญแจไข โดยประตูบานเลื่อนจะสามารถเคลื่อนที่ไปมาได้อย่าง อิสระด้วยแรงมือเมื่อปลดล็อคแล้ว
โปรดตรวจสอบให้แน่ใจว่าไม่มีใครอยู่ใกล้ตัวมอเตอร์ หรือประตูรั้วเมื่อเปิดสวิทช์การทํางาน และหมั่นตรวจสอบเสถียรภาพ กับประสิทธิภาพการทํางานของชุด ประตูรีโมทเพื่อความปลอดภัย รวมถึง กรุณาหยุดใช้งานประตูรีโมทชั่วคราวหากพบปัญหา หรือต้องการการซ่อมแซม และควบคุม การติดตั้ง และซ่อมบํารุงต้องติดตั้งอย่างระมัดระวังจากผู้เชี่ยวชาญเท่านั้น
4.การติดตั้ง ชุดประตูรีโมท HV-1000 เหมาะกับประตูที่มีน้ําหนัก น้อยกว่า 1000 กิโลกรัม และควรมีความยาวประตูน้อยกว่า 12 เมตร ในโหมดขับเคลื่อนกลไกที่ใช้ จะเป็นการใช้ตัวฟั่นเฟืองกับ สะพานเฟืองในการส่งให้ประตูเคลื่อนที่ และในการติดตั้งตัวมอเตอร์ประตูรีโมทควรติดตั้งภายในลูกกรง เพื่อป้องกันอันตราย
4.3 ขั้นตอนการติดตั้ง
4.3.1 การจัดเตรียมก่อนการติดตั้ง โปรดตรวจสอบให้แน่ใจว่าประตูบานเลื่อนติดตั้งอย่างถูกต้อง ราวประตูอยู่ในแนวนอน และประตูสามารถเลื่อนไปทางซ้าย และขวาในแนวนอนได้อย่างนุ่มนวล ไม่ติดขัดด้วยแรงมือของผู้ทดสอบก่อนการติดตั้งประตูรีโมท
การติดตั้งสายไฟ โปรดฝังสายมอเตอร์ สายไฟ และสายควบคุมลงพื้นด้วยท่อ PVC โดยใช้ท่อ PVC 2 เส้นในการฝัง โดย PVC 1 เส้นใช้กับสายมอเตอร์ และสายไฟ ส่วน PVC อีก เส้นใช้กับสายควบคุม แยกกัน เพื่อให้มั่นใจว่าการทํางานของประตูมอเตอร์จะไม่ทําให้สายไฟแต่ละเส้นเสียหาย
ฐานคอนกรีต เทฐานคอนกรีต ขนาด 500 มิลลิเมตร x 300 มิลลิเมตร และลึก 250 มิลลิเมตร ก่อนการติดตั้งมอเตอร์เพื่อให้ฐานหนักแน่น แข็งแรง และมั่นคง เหมาะสมใน การติดตั้งประตูรีโมท HV-1000 โปรดตรวจสอบให้แน่ใจว่าระยะห่างระหว่างประตูบานเลื่อนและ ประตูมอเตอร์อยู่ห่างกันอย่างเหมาะสมก่อนการเทคอนกรีต
4.3.2 การติดตั้งมอเตอรืประตู
a) ถอดฝาครอบพลาสติกของตัวมอเตอร์ออกก่อนการติดตั้ง แล้วทําการยึดแผ่นฐานมอเตอร์ด้วยสลักเกลียว (Foundation bolt) อย่างถูกต้อง
b) เตรียมสายไฟสําหรับเชื่อมต้อมอเตอร์ประตูโดยผ่านแผ่นฐานมอเตอร์ (โดยจํานวนสายไฟจะต้องไม่น้อยกว่า 3 เส้น และสายไฟจะต้องมีเส้นผ่านศูนย์กลางไม่ น้อยกว่า 1.5 มิลลิเมตร2 ) ส่วนความยาวขึ้นอยู่กับสถานที่และความเหมาะสม เนื่องจากแต่ละสถานที่มีสภาพแวดล้อมที่แตกต่างกัน
c) ทําการปลดล็อคกลไกมอเตอร์ก่อนทําการติดตั้ง ; สามารถทําได้โดยเปิดฝายางกุญแจออก เสียบกุญแจ ไข และเปิดฝาออกจนกระทั่งตัวฝา และมอเตอร์ทํา มุม 90 องศา (ดังรูปภาพที่ 5 ) จะทําให้ตัวฟั่นเฟืองเป็นอิสระและสามารถเลื่อนประตูบานเลื่อนไปมาได้ด้วยแรงมือ
4.3.3 การติดตั้งสะพานเฟือง
โปรดระวัง !!
4.3.4 การติดตั้ง สวิทช์จํากัดระยะ ( Limit switch ) สวิทช์ สปริง จํากัดระยะ (Spring limit switch) การติดตั้งสวิทช์ สปริง จํากัดระยะ แสดงดัง รูปภาพที่ 8
การติดตั้งตัวบล็อก สวิทช์สปริงจํากัดระยะ (Spring limit switch block) แสดงดังรูปภาพที่ 9
สวิทช์ แม่เหล็กจํากัดระยะ (Magnetic limit switch) การติดตั้งสวิทช์ แม่เหล็กจํากัดระยะ แสดงดัง รูปภาพที่ 10
การติดตั้งตัวบล็อก สวิทช์แม่เหล็กจํากัดระยะ (Magnetic limit switch block) แสดงดังรูปภาพที่ 11
หมายเหตุ : ค่าเริ่มต้นจะติดตั้งทางขวา (right side mounting)
4.3.5 บอร์ดควบคุม
4.3.5.1 แผงควบคุมอัจฉริยะ
คําแนะนําด้านการเดินสายไฟ
แผงบอร์ดส่วน J2 (เพื่อความสะดวกสบายในการเดินสายไฟ ในแผงส่วนนี้จะมีไฟแสดงเมื่อมีการเดินสายผิดพลาด)
แผงบอร์ดส่วน J5 (เพื่อความสะดวกสบายในการเดินสายในแผงส่วนนี้จะมีไฟแสดงเมื่อมีการเดินสายผิดพลาด)
7. แหล่งจ่ายไฟสําหรับอุปกรณ์เสริม; +12V
8. เชื่อมต่อ photocell (ปกติปิด) (N.C.); ถอดอุปกรณ์ออกหากไม่ได้ใช้งาน
9. GND 10. เครื่องตรวจจับ (ปกติเปิด) (N.O.)
วงจรการทํางานของเครื่องตรวจจับในขณะที่ประตูกําลังปิด หากเครื่องตรวจจับตรวจพบยานพาหนะ ประตูจะเปิดทันที; เมื่อยานพาหนะเคลื่อนที่ผ่านไปแล้ว ประตูจะปิดเองอัตโนมัติ ; วงจรการทํางานข้างต้นผู้ใช้สามารถกําหนดระยะเวลาการปิดอัตโนมัติ 12 วินาทีหลังจากยานพาหนะเคลื่อนที่ผ่านไปแล้วได้โดย เลื่อน DIP Switch ตัวที่ 4 ไปที่ ON ประตูก็จะปิดอัตโนมัติหลังจากพาหนะผ่านไปแล้ว 12 วินาที
11. ปิด สวิทช์จํากัดระยะ
12. สวิทช์จํากัดระยะ และอุปกรณ์อื่นๆ
13. เปิด สวิทช์จํากัดระยะ
การปรับเปลี่ยนฟังชั่นการทํางาน ตัวแปรการทํางานของบอร์ดควบคุมกับไมโครโปรเซสเซอร์สามารถปรับเปลี่ยนผ่านโพเทนชิโอมิเตอร์ (Potentiometer) หรือ ตัวปรับความเร็วมอเตอรและ DIP switch เพื่อเปลี่ยนการทํางานให้เป็นไปตามความต้องการที่แตกต่างกัน
การปรับลูกบิด
VR1 : เมื่อฟังค์ชั่นถอยหลังเมื่อพบสิ่งกีดขวางได้เปิดใช้งาน (DIP switch 5 อยู่ที่ OFF) ลูกบิดนี้ใช้สําหรับปรับความไวต่อสิ่งกีดขวาง; หมุนตามเข็มนาฬิกาจะลดความ ไวต่อสิ่งกีดขวาง ; หมุนทวนเข็มนาฬิกาจะเพิ่มความไวต่อสิ่งกีดขวาง เมื่อฟังค์ชั่นถอยหลังเมื่อพบสิ่งกีดขวางถูกปิดใช้งาน (DIP switch 5 อยู่ที่ ON) ลูกบิดนี้จะใช้สําหรับปรับเปลี่ยนการทํางานโดยรวมของมอเตอร์ ; หมุนตามเข็มนาฬิกา เพื่อเพิ่มความเร็ว ; หมุนทวนเข็มนาฬิกาเพื่อลดความเร็ว เวลาที่ใช้ทั้งหมดสามารถตั้งได้ตั้งแต่ ต่ําสุด 10 วินาที ถึง สูงสุด 90 วินาที
VR2 : สําหรับตัดแรง หรือ ปรับชะลอแรงก่อนประตูปิด; หมุนตามเข็มนาฬิกาเพื่อเพิ่ม ; หมุนทวนเข็มนาฬิกาเพื่อลด และหมุนไปต่ําสุดเพื่อยกเลิกฟังค์ชั่นตัดแรงนี้
VR3 : สําหรับปรับช่วงที่ชะลอการหยุด ; หมุนตามเข็มนาฬิกาเพื่อเพิ่ม ; หมุนทวนเข็มนาฬิกาเพื่อลด
VR4 : สําหรับปรับแรงของมอเตอร์เพื่อความปลอดภัยในการใช้งาน ; หมุนตามเข็มนาฬิกาเพื่อเพิ่ม ; หมุนทวนเข็มนาฬิกาเพื่อลด
หมายเหตุ : ค่าเริ่มต้นของ VR1 VR2 VR3 VR4 จะอยู่ที่ค่าสูงสุด และผู้ใช้สามารถปรับเปลี่ยนตามความต้องการได้
คําเตือน : แรงขับเคลื่อนของมอเตอร์ไม่ควรปรับให้มากเกินไป ;ปรับเพียงเพื่อสามารถขับเคลื่อนได้เท่านั้น
DIP Switch
การตั้งค่าการปิดประตูอัตโนมัติ ใช้ DIP switch 3 และ 4
3 ON 4 OFF : ปิดประตูอัตโนมัติใน 3 วินาที
3 OFF 4 ON : ปิดประตูอัตโนมัติใน 12 วินาที
3 ON 4 ON : ปิดประตูอัตโนมัติใน 36 วินาที
3 OFF 4 OFF : ไมิมีการเปิดใช้งานการปิดอัตโนมัติ
5. ฟังค์ชั่นถอยหลังเมื่อพบสิ่งกีดขวาง ( OFF - เปิดการใช้งาน; ON – ปิดการใช้งาน )
การเชื่อมต่ออินฟาเรดเซ็นเซอร์ (Infrared sensor)
การทํางานของอินฟาเรดโปโตเซลล์ (Infrared photocell) : ในขณะที่ประตูกําลังเลื่อนปิด ถ้ามีสิ่งกีดขวางสัมผัสกับรังสีอินฟาเรด ประตูจะเลื่อนเปิดออกทันที เพื่อรักษาความปลอดภัยของผู้ใช้และทรัพย์สิน
ระยะห่างระหว่างโปโตเซลล์รับรังสีอินฟาเรด (photocell emitter) และโปโตเซลล์ส่ง (photocell transmitter) ควรมีระยะห่างไม่น้อยกว่า 2 เมตร มิฉะนั้น จะส่งผลให้เกิดการเหนี่ยวนํากระแสไฟฟ้าระหว่างโปโตเซลล์ หากเชื่อมต่อ อินฟาเรดโปโตเซลล์ , กรุณาถอดตัวเชื่อมต่อตั้งแต่ตัวที่ 8-9 ในแผงส่วน J5
การทํางานของรีโมทคอนโทรล
เมื่อรีโมทคอนโทรลทํางานในโหมดแบบ 3 ปุ่มควบคุม ; 3 ปุ่มบนรีโมทจะสามารถควบคุมการทํางานของมอเตอร์ได้ดังนี้ เปิด / ปิด / หยุด โดยการทํางานจะ แยกกันคนละปุ่ม ดังรูปที่ 18 (ซ้าย)
เมื่อรีโมทคอนโทรลทํางานในโหมดแบบปุ่มเดียว ; 1 ปุ่มบนรีโมทคอนโทรลจะสามารถควบคุมการทํางานของมอเตอร์ได้ทั้งหมดโดยการทํางานจะเรียงลําดับ ตามการกดดังนี้ เปิด / หยุด / ปิด / หยุด ดังรูปที่ 18 (ขวา)
การเพิ่มจํานวนรีโมทคอนโทรลระยะไกล ถอดฝาครอบของตัวมอเตอร์ออก แล้วกดปุ่ม S1 บนแผงควบคุม แล้วไฟแสดงสถานะบนแผงควบคุมจะกระพริบ 1 ครั้งให้กดปุ่มบนรีโมทคอนโทรลปุ่มใดก็ได้ 2 ครั้งติดกัน (โดยเป็นปุ่มเดียวกัน)แล้วไฟแสดงสถานะจะกระพริบซ้ําๆ และดับไป เป็นอันเสร็จสิ้นกระบวนการเพิ่มจํานวนรีโมทคอนโทรล, มากที่สุดที่รับได้คือรีโมท คอนโทรล 25 เครื่อง
การลบรีโมทคอนโทรลออก กดปุ่ม S1 บนแผงควบคุมแล้วไฟแสดงสถานะจะติดขึ้น กดค้างจนไฟแสดงสถานะดับลง เป็นอันเสร็จสิ้นรีโมทคอนโทรลทุกตัวจะถูกลบออกจากการใช้งาน ปุ่มที่ 4 บนรีโมทคอนโทรลใช้สําหรับโหมดคนเดินเท้า กดปุ่มที่ 4 ประตูจะเปิด 1 เมตรและประตูจะปิด ปุ่มนี้ใช้สําหรับคนเดินเท่านั้น
หมายเหตุ หากประตูเลื่อนเปิดไปในทิศทางที่ไม่ถูกต้อง ให้เปลี่ยนสายไฟกันระหว่าง สาย MOT2 และ MOT1 โปรดตรวจสอบให้แน่ใจว่ามอเตอร์จะหยุดทํางาน อัตโนมัติเมื่อประตูเปิดเต็มที่แล้ว หากประตูเปิดกว้างแต่ไม่สามารถหยุดในตําแหน่งที่ถูกต้องหรือ ต้องการ ได้ให้เปลี่ยนสายกันระหว่าง 11 และ 13
5. คําแนะนําอื่นๆ
5.1 การบํารุงรักษา กรุณาตรวจสอบว่าประตูรีโมทสามารถทํางานได้ปกติและมีประสิทธิภาพทุกเดือน เพื่อความปลอดภัย และประตูรีโมทแต่ละตัวที่ทําการติดตั้งควรมีการติดตั้งตัว ป้องกันด้วยระบบอินฟาเรด และอุปกรณ์ เพื่อความปลอดภัยทุกตัว พร้อมทั้งมีการตรวจสอบอย่างสม่ําเสมอ ก่อนทําการติดตั้ง และใช้งานประตูรีโมท โปรดอ่านและทําความเข้าใจคู่มืออย่างละเอียด
บริษัทของเรามีสิทธิ์ที่จะเปลี่ยนแปลงคําแนะนําล่วงหน้าโดยไม่ต้องแจ้งให้ทราบ
1 ก.ค. 2562
1 ก.ค. 2562
1 ก.ค. 2562
24 ก.ค. 2562