คู่มือการใช้งานฉบับย่อ AHD 9200-Series และ AHD-9800-Series
- เริ่มต้นการใช้งาน
หลังจากเครื่องเริÉมทํางานให้คลิกปุ่มขวาของเมาส์ในโหมดอินเตอร์เฟสหลักที่จะขึ้นหน้า หน้าเมนู
Pop-up ขึ้นมาเข้าเมนูชื่อผู้ใช้: admin รหัสผ่าน : 123456 จะเข้าสู่หน้าเมนูหลัก ดังภาพข้างล่าง
2. ตั้งค่าการแสดงผล (Out put)
เมนูหลัก(Main menu) >ตั้งค่า (Setting) >ทั่วไป(General) >ระบบ
>> เป็นการตั้งค่ารูปแบบการแสดงผล ตั้งชื่อเครื่องบันทึก ตั้งรูปแบบวีดีโอ แสดงเวลา และภาษา
สัญญาณภาพออก : ตั้งความละเอียดสําหรับแสดงผลผ่านพอร์ต VGA หรือ HDMI เพื่อให้ได้ภาพ
ที่แสดงผลออกมาได้ความละเอียดที่เต็มที่
เมนูหลัก(Main menu) >ตั้งค่า (Setting) >ภาพสด
>> เป็นการตั้งค่ารูปแบบแสดงภาพ ตั้งชื่อเครื่องบันทึก แสดงชื่อกล้อง และปรับแต่งค่าสีของกล้องแต่ละตัว
เมนูหลัก(Main menu) >ตั้งค่า (Setting) >หน้าจอหลัก
>> เป็นการตั้งค่ารูปแบบการแสดงผลหน้าจอหลัก ปรับเปลี่ยนรูปแบบการแสดงผล และกําหนดช่องสัญญาณ
ที่ให้แสดงผล
3. ตั้งค่าทั่วไป ตั้งค่าวันเวลา
เริ่มเข้าเมนูหลัก (Main menu) >ตั้งค่า (Setting) >ทั่วไป(General) >วันและเวลา
>> เป็นการตั้งค่าปรับเปลี่ยน วันที่, เวลา, รูปแบบวัน
4. การตั้งรหัสผ่านและชื่อผู้ใช้งาน Login เข้าเครื่องบันทึกภาพ
เริ่มเข้าเมนูหลัก (Main menu) >ตั้งค่า(Setting) >ชื่อผู้ใช้งาน(Users)
>> เป็นการตั้งค่า กําหนดสิทธิ์ เข้าใช้งานแต่ละ USER
เลือก User ที่ต้องการเปลี่ยนรหัสหรือกําหนดสิทธิ์ ขึ้นมาคลิก เปลี่ยนรหัสผ่าน
ชื่อผู้ใช้ : admin
รหัสผ่าน : กําหนดรหัสผ่านที่ต้องการได้เลย (ใส่ตัวเลขหรือตัวอักษรได้ตั้งแต่ 6-8 ตัว)
ยืนยัน : ใส่รหัสผ่านเดิมอีกครับ >>>ตามภาพข้างล่าง
กรณีเพิ่ม User ที่ต้องการ สามารถกําหนดสิทธิ์ ให้ผู้ใช้งานได้เข้าถึงตามภาพด้านล่างนี้เลย
ถ้าต้องการให้เข้าถึงข้อมูลไหนก็เลือก ติ๊กถูกที่ช่องสี่เหลี่ยมได้เลย
ถ้าไม่ให้เข้าถึงข้อมูลไหนก็เลือก ติ๊กถูกที่ช่องสี่เหลี่ยมออกได้เลย
5. การตั้งค่าการบันทึก
เริ่มเข้าเมนูหลัก (Main menu) >ตั้งค่า (Setting) >บันทึก(Record) >เปิดใช้งาน
>> เป็นการเลือกกล้องเพื่อตั้งค่า การบันทึกภาพและเสียงลงเครื่องบันทึก ดังภาพข้างล่าง
>> ติ๊กถูกที่ช่อง เป็นการเลือกบันทึก
แล้วกดนําไปใช้เพื่อ บันทึก
เริ่มเข้าเมนูหลัก(Main menu) >ตั้งค่า (Setting) >บันทึก(Record) >บิทเรทในการบันทึก
>> เป็นการตั้งค่าความละเอียดในการบันทึก
โหมดความละเอียดในการบันทึก : รองรับการบันทึกตั้งแต่ 1080P,720P,WD1,WHD1,WCIF
เฟรมเรต (FPS) : ตั้งค่าการแสดงภาพแบบ Realtime
คุณภาพ : เลือกระดับสําหรับการบันทึกภาพลงที่เครื่องบันทึก มีให้เลือกได้หลายระดับ
บิตเรต (Bitrate) : เลือกบิตเรตสําหรับการบันทึก สามารถเลือกได้ตามความเหมาะสม
เริ่มเข้าเมนูหลัก(Main menu) >ตัÊงค่า (Setting) >ตารางเวลา (Schedule)
>>บันทึกแบบกําหนดตารางเวลา : ตั้งค่าสถานะที่ต้องการบันทึกให้บันทึกตลอดเวลา ติ๊กที่
แล้วมาติ๊กเลือกทีÉช่องเวลาติ๊กให้เป็นแถบสีส้ม สามารถกําหนดรูปแบบในการบันทึกได้อย่างอิสระในแต่ละ
ช่องสัญญาณตามตารางเวลาในหนึ่งสัปดาห์ เป็นการลบข้อมูลที่ตั้งค่าไว้
*** การตั้งค่าตามตารางเวลาการบันทึกของกล้องที่ตั้งค่าสามารถก๊อปปี้ไปใช้กับกล้องอื่นได้โดยคลิกที่ คัดลอก
>>บันทึกแบบการเคลื่อนไหว : ตั้งค่าสถานะที่ต้องการบันทึกให้บันทึกเฉพาะที่มีการเคลือนไหว ติ๊ก
ที่ แล้วมาติ๊กเลือกที่ช่องเวลาติ๊กให้เป็นแถบสีส้ม สามารถกําหนดรูปแบบในการบันทึกได้อย่างอิสระในแต่
ละช่องสัญญาณตามตารางเวลาในหนึ่งสัปดาห์ เป็นการลบข้อมูลที่ตั้งค่าไว้
*** การตั้งค่าตามตารางเวลาการบันทึกของกล้องที่ตั้งค่าสามารถก๊อปปี้ไปใช้กับกล้องอื่นได้โดยคลิกที่ คัดลอก
6. Format HDD
เริ่มเข้าเมนูหลัก(Main menu) > ตัวจัดการฮาร์ดดิสก์
เป็นการล้างข้อมูลในฮาร์ดดิสเพื่อให้มีพื้นที่ว่างในการบันทึกข้อมูล เมื่อติดตั้ง HDD แล้วเข้าในเมนูจะ
เจอข้อมูลของ HDD ให้ติËกเลือก HDD แล้วเลือกฟอร์แมต
*** โหมดเขียนทับให้ตั้งเป็น อ่าน / บันทึก
>> รอจนระบบฟอร์แมตเสร็จสิ้น
7. ค้นหาการบันทึก เล่นย้อนหลัง
เริ่มจากเข้าเมนูหลัก(Main menu) >ค้นหาการบันทึก(Record Search) >ค้นหาตามเวลา
สังเกตุช่วงวันเวลาที่มีข้อมูลจะขึ้นเป็นแถบกรอบสีเหลืองให้ ถ้าต้องการดูวันที่ไหนก็ใช้เมาส์หรือรีโมท
คลิก 1. เลือกวันที่นั้นที่เราต้องการดูย้อนหลังในตารางปฏิทิน
2. เลือกช่องสัญญาณที่ต้องการดูภาพย้อนหลัง
3. ระบุวันเวลาเริ่มต้น ถึงสิ้นสุดที่อยู่ในช่วงเวลาที่ต้อง หรือกดเลือกช่วงเวลาที่เป็นแถบสีส้มในช่วงเวลา
4. คลิก เล่นย้อนหลัง >>> ก็จะแสดงหน้าต่างขึ้นมาให้ดังรูปภาพด้านล่าง
8. สํารองข้อมูล
เริ่มจากเข้าเมนูหลัก(Main menu) >โอนถ่ายข้อมูล
ต่อ USB เข้ากับเครื่องบันทึกให้เรียบร้อย
1) ระบุวันที่ และเวลาที่ต้องการตั้งแต่เริ่มต้น-สิ้นสุด ที่ต้องการสํารองข้อมูล
2) กําหนดช่องสัญญาณที่ต้องการสํารองข้อมูล คลิก ค้นหา
จะมีข้อมูลรายละเอียดระยะของแต่ละช่องสัญญาณ และช่วงเวลาของข้อมูลขึ้นให้ ดังภาพข้างล่าง
3) ติ๊กเลือกช่วงเวลาทีÉต้องการสํารองข้อมูล
4) กดโอนถ่ายข้อมูล
>> จะมีหน้าต่างขึ้นแสดงเวลาเริ่มต้น-สิ้นสุด จํานวนไฟล์ ขนาดความจุ ชนิดอุปกรณ์ที่จะสํารองข้อมูล พื้นที่
ว่างสําหรับ USB ดังรูปข้างล่าง
>> ให้เลือกประเภทการสํารองข้อมูลให้เลือกเป็น AVI กด เริ่ม
>> ระบบจะทําการสํารองข้อมูลลง USB ให้รอจนสํารองข้อมูลเสร็จ100% เรียบร้อยก็สามารถนําไฟล์ไปเปิ ดดู
ในคอมพิวเตอร์หรือโน๊ตบุ๊คได้เลย
9. ตั้งค่าเครือข่ายสําหรับออนไลน์
เริ่มเข้าเมนูหลัก(Main menu) >ตั้งค่า(Setting) >เครือข่าย(Network)
>> กําหนดไอพีให้กับเครื่องบันทึก ให้อยู่ในวงเดียวกันกับเร้าเตอร์หรืออินเตอร์เน็ตเพื่อให้เชื่อมต่อกันได้
เลือก DHCP >>เร้าเตอร์จะทําการจ่ายไอพีให้กับเครื่องบันทึกอัตโนมัติใช้แบบ Scan QRCord,P2P
Static >>เป็นแบบ Fix IP Address ให้กับเครื่องบันทึก ใช้กรณี Forward Port ตั้งค่า Domain name
เริ่มเข้าเมนูหลัก(Main menu) >ตั้งค่า(Setting) >เครือข่าย(Network) >การส่งข้อมูลรอง(Sub Stream)
>> เป็นการเลือกปรับระดับความละเอียดเพื่อให้แสดงภาพผ่านระบบเครือข่าย และมือถือ
ความละเอียด : ปรับระดับความละเอียดของภาพให้แสดงผ่านระบบเครือข่ายและมือถือ
เฟรมเรต : เลือกปรับการแสดงภาพผ่านเครือข่ายให้แสดงผลแบบ Realtime
เข้ารหัส คุณภาพ : ปรับระดับคุณภาพความละเอียดของภาพให้แสดงผลผ่านเครือข่าย
บิตเรต : เลือกขนาดในการส่งสัญญาณสําหรับเครือข่ายและภาพออนไลน์
เริ่มเข้าเมนูหลัก(Main menu) >ตั้งค่า(Setting) >เครือข่าย(Network) >อีเมลล์(E-mail)
>> เป็นการตั้งค่าให้ส่งสัญญาณภาพเมื่อมีการเคลื่อนไหวไปเก็บไว้ในอีเมลล์
เริ่มเข้าเมนูหลัก(Main menu) >พารามิเตอร์(Parameter) >DDNS
>> เป็นการตั้งค่า โดเมนเนม เพื่อใช้ในการดูภาพผ่านเครือข่าย และโทรศัพท์
DDNS : เลือกเปิ ดใช้งาน (กรณีต้องการดูผ่านเครือข่าย)
รูปแบบ DDNS : เลือกเซิฟเวอร์ผู้ให้บริการโดเมน
ชื่อผู้ใช้ : ใส่ชื่อผู้ใช้ที่ใช้สมัครโดเมนไว้
รหัสผ่าน : ใส่รหัสผ่านที่ตั้งไว้ตอนสมัครโดเมน
โฮสต์โดเมน : ใส่ชื่อโดเมนที่สมัครไว้กับเซิฟเวอร์ผู้ให้บริการ
อัพเดท DDNS : เลือกช่วงเวลาที่โฮสต์จะอัพเดท
หมายเหตุ : ใช้ในกรณีสมัครโดเมน และตั้งค่าไอพีแอดเดรท Forward Port ผ่านเร้าเตอร์เท่านั้น